คณะบริหารธุรกิจ จัดการบรรยาย หัวข้อ “The use of experiments and its comparative advantage for research”..
คณะบริหารธุรกิจ จัดการประชุมเครือข่ายสถาบันการศึกษาแห่งภูมิภาคด้านบริหารธุรกิจ (Thailand Regional Business Schools Network: TRBS Net) ครั้งที่ 2/63 เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการร่วมกันผ่านกิจกรรมที่กำหนดไว้ภายใต้เครือข่ายความร่วมมือ 4 สถาบัน ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นอกจากการประชุมฯ แล้ว ยังประกอบไปด้วยกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่และบุคลากร การบรรยายเรื่อง โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU School of Lifelong Education) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อลิส ชาร์ป รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่ “วัฒนธรรม นวัตกรรม พื้นถิ่นจังหวัดเชียงใหม่” พร้อมทั้งเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชน ศึกษาดูงานในหน่วยงานต่าง ๆ และสถานที่สำคัญในจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ สำหรับหน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งในพื้นที่ภาคเหนือ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ทั้งนี้มีผู้บริหาร และคณาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2563 ดังนี้ชั้นตราประถมาภรณ์ช้างเผือก- รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล กิมภากรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการจัดการ และอาจารย์ประจำภาควิชาการตลาดชั้นตรา มหาวชิรมงกุฎ- รองศาสตราจารย์ ดร.จิราวรรณ ฉายสุวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด- รองศาสตราจารย์ อรพิณ สันติธีรากุล อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ- รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรา ตันติประภา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด- รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา เจรียงประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ
งานบริหารงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ คณะบริหารธุรกิจ จัดการอบรม “จริยธรรมการวิจัยในคน” ประจำปี 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักจริยธรรมการวิจัย และความจำเป็นในการขอรับรองการวิจัยในคน แนวทางและขั้นตอนการขอรับรองเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยมี ผศ.ดร.ก้องภู นิมานันท์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ กล่าวต้อนรับและเปิดการอบรม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 2 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 เวลา 08:30-16:00 น.
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ได้มีการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกรายสาขาวิชา ประจำปี 2021 โดย QS World University Rankings ซื่งผลปรากฎว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีสาขาติดอันดับโลกในปี 2021 จำนวนทั้งสิ้น 8 สาขา มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดย 1 ในนั้นคือ สาขา Business & Management Studies อยู่อันดับ 401-450 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้นกว่าปี 2020 ที่อยู่อันดับ 451-450การที่สาขา Business & Management Studies มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับ อันดับ 401-450 โดย QS World University Rankings by Subject นั้น ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความทุ่มเทและมุ่งมั่นในคุณภาพ ทั้งในด้านของหลักสูตร คณาจารย์ นักศึกษา การวิจัย และการเป็นสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติ ผ่านตัวชี้วัด 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) Academic reputation 2) Employer reputation 3) Citations per paper 4) H-index โดยมีผลการจัดอันดับตามตารางด้านล่างนี้ ข้อมูลโดย : ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหาร (Ex-M.B.A) คณะบริหารธุรกิจ จัดการนำเสนอผลการศึกษาภายใต้การเรียนการสอนแบบ Action Learning นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของหลักสูตรฯ แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 องค์กร ได้แก่ 1) บริษัท โตเกียวออพติคอล จำกัด 2) บริษัท ซี.พี.ดี. ชีทบอร์ด จำกัด 3) ลีลานวดไท 4) บุรีโฮเทลแอนด์โฮลเทล และ 5) เอี่ยมดี รีไซเคิล ร่วมถึงผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ได้แก่ 1) คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองกรรมการผู้อำนวยการ สำนักกิจการองค์กร บริษัท บีอีซี เวิล์ด จำกัด (มหาชน) 2) คุณวัลลภัช แก้วอำไพ Director โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 3) รองศาสตราจารย์กิตติ สิริพัลลภ อาจารย์ประจำ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4) คุณฐิติ บุญประกอบ ที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม และ 5) รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการ และการเป็นผู้ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (Action Learning) จากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 หลักสูตรบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมเลอเมอริเดียน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ใบสมัครเข้ารับการคัดเลือก
Digital LiteracyFinancial NumeracySocial & Professional CompetencyVerbal Proficiency in English ระยะเวลา 10 ชั่วโมง ภายใน 2 วัน จำกัดจำนวนผู้เรียน 12 ท่านต่อหลักสูตรเท่านั้น สำหรับผู้สนใจ ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 053 -942153
รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร อดีตคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา รองคณบดี และอาจารย์วไลทัศน์ วรกุล ผู้ดูแลสถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 64 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้แทนคณะบริหารธุรกิจ และสถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 64 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเป็นเจ้าภาพในงานสวดพระอภิธรรมศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ผู้ก่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพ ในวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม 2564 เวลา 19:00 น. ณ อาคารบุญญาวาส วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม (พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) เป็นผู้ทำคุณประโยชน์และประกอบคุณความดีแก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะบริหารธุรกิจ โดยเป็นผู้เมตตาอนุญาตให้เปิดหลักสูตรครูสมาธิ ณ คณะบริหารธุรกิจ เพื่อประโยชน์แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และบุคคลทั่วไปที่สนใจ นอกจากนี้ยังเป็นผู้พัฒนาสูตรสมาธิเพื่อพัฒนาชีวิต ซึ่งคณะบริหารธุรกิจนำมาใช้จัดการเรียนการสอนในกระบวนวิชา 703330 สมาธิสำหรับผู้นำธุรกิจ ในระดับปริญญาตรีอีกด้วย
คณะบริหารธุรกิจ จัดการบรรยาย หัวข้อ “The use of experiments and its comparative advantage for research”..
โครงการถวายมหาสังฆทาน เพื่อเป็นพุทธบูชาเนื่อง ในวันมาฆบูชา ประจำปี 2562วันจันทร์ที่ 18กุมพันธ์ 2562..
คณะบริหารธุรกิจจัดสัมมนาพิเศษ Wealth & Wisdom Project เพื่อความสุข สมดุลของชีวิตก่อนและหลังเกษียณ เกษียณสุขหรือทุกข์…
เมื่อวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2562 ชมรมนักศึกษาเก่าปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร (Ex-M.B.A.) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ…
อาจารย์นิตยา วัฒนคุณ ที่ปรึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับผู้บริหาร จังหวัดเชียงใหม่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมกร ไชยประสิทธิ์ รอง…
นักบัญชีที่ดีต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการ และมาตรฐานทางการบัญชีเป็นอย่างดี รวมทั้งมีความเข้าใจในธุรกิจขององค์กร ปัจจัยภายในและภายนอกต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้สามารถนำหลักการบัญชีมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบัน ที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว นักบัญชีจึงต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และมาตรฐานการบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการสื่อสารเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย นำเสนองานและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นหลักสูตรจึงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงความรู้ในสาขาบัญชีเท่านั้น แต่ได้ออกแบบให้มีการรวบรวมความรู้ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาบัญชี ด้วยการศึกษาผ่านกรณีศึกษา และจากประสบการณ์ของวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ โดยตรง รวมทั้งเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์ การนำเสนอผลงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วย
![]() ![]() |
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร : 053-942105 แฟกซ์ : 053-892201© Copyright 2015 All rights reserved. |
---|
Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.
Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.